นวัตกรรม
ความหมายของนวัตกรรม
การทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่านวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการ มาพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์ จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม" หรือจะกล่าวง่ายๆ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จาก แนวคิดของนักเกษรอุตสาหกรรมเช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก และทฤษฎีที่รู้จักกันมาก ก็น่าจะเป็น Thoery of Disruptive Innovation ของ Prof. Clayton Christensen แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Diffusion of Innovation Theory ของ Prof. Everett Rogers ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี 1962 ทั้งนี้ความคิดและทฤษฎีเรื่องนวัตกรรมมีวิวัฒนาการมาอย่างน้อย 50 ปีแล้ว โดยในช่วงทศวรรษที่ 1950 บรรดานักวิชาการต่างมองว่า นวัตกรรมเป็นการพัฒนาอย่างหนึ่งที่แยกออกมาจากการศึกษาวิจัยต่างๆ แต่ในปัจจุบันนี้ นวัตกรรมไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผลลัพธ์ของการดำเนินงานของปัจเจกบุคคล หากแต่เป็นผลของกระบวนการ (process)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วยคำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกรรม” (Innovator) (boonpan edt01.htm)ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นจรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ
ความสำคัญและประโยชน์ของนวัตกรรม
ปัจจุบันพูดถึงคำว่านวัตกรรมหรือ Innovation ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้น ผู้บริหารมักจะต้องการให้องค์กรที่ตนเองบริหารอยู่มุ่งเน้นในเรื่องของนวัตกรรม หรือมีความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization) ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาในหมู่ผู้บริหารระดับกลาง และระดับล่างว่านวัตกรรมนั้นจริงๆ แล้วคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และการที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นจะทำได้อย่างไร?มักจะมีความเข้าใจผิดอยู่มากเวลาเรานึกถึงคำว่านวัตกรรมว่าต้องหมายถึง สิ่งที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงหรือสินค้าใหม่ๆ ที่มีความเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงที่ชอบออกมาดึงดูดเงินในกระเป๋าของเรา อีกทั้งยังมีความเข้าใจว่านวัตกรรมก็คือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ แต่จริงๆ แล้วคำว่านวัตกรรมไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีเท่านั้น รากศัพท์ของคำว่า Innovation มาจากภาษาละตินว่า 'innovare' ที่แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ ในขณะเดียวกันเมื่อเปิดดูพจนานุกรมของ สอ เสถบุตร ก็จะพบว่าคำว่า Innovation แปลเป็นไทยว่า เปลี่ยนแปลงใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้นะครับว่าเมื่อเราพูดถึงนวัตกรรม เราไม่ได้พูดถึงแต่เฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูงเท่านั้น ผมขออนุญาตตีความหมายรวมเลยว่านวัตกรรมน่าจะหมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสิ่งใหม่ๆ เมื่อเราเข้าใจในที่มาของคำว่านวัตกรรมแล้ว คิดว่าท่านผู้อ่านก็คงจะเห็นภาพนะครับว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมถึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ และการแข่งขันในปัจจุบัน จริงๆ แล้วคงไม่ใช่แค่องค์กรธุรกิจเท่านั้นหรอกนะครับ ผมเชื่อว่าองค์กรทุกประเภทควรจะต้องให้ความสำคัญกับนวัตกรรม เนื่องจากในปัจจุบัน ถ้าองค์กรไม่สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยสิ่งใหม่ๆ แล้วย่อมยากที่จะทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ หน่วยงานที่ไม่ได้แสวงหากำไรหลายแห่งเริ่มที่จะพยายามพัฒนาตนเองในเชิงของนวัตกรรมมากขึ้น อย่างเช่นในหน่วยงานที่ผมสังกัดอยู่ แล้วจะพบว่าความสำเร็จขององค์กรเหล่านั้นเกิดขึ้นจาก นวัตกรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางด้านสินค้า ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการให้บริการ ด้านการจัดการ หรือด้านการตลาด และการที่องค์กรเหล่านี้จะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องก็ต้องเกิดขึ้นจากนวัตกรรมเช่นกันถ้าองค์กรไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองจากสิ่งใหม่ๆ ได้แล้วย่อมยากที่จะทำให้องค์กรยังคงครองความเป็นที่หนึ่งได้ อย่างมากก็เป็นเพียงองค์กรธรรมดาๆ อีกแห่งหนึ่งเท่านั้นเองเมื่อท่านผู้อ่านเห็นความสำคัญของนวัตกรรมแล้ว ก็คงเกิดคำถามขึ้นในใจต่อนะครับ ว่าแล้วจะพัฒนาองค์กรของท่านให้มีลักษณะเป็น Innovative Organization หรือองค์กรแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร? การพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของผู้บริหารทุกองค์กร เพียงแต่จะต้องมีความเข้าใจต่อคุณลักษณะของ Innovative Organization เสียก่อน อีกทั้งต้องเข้าใจด้วยนะครับว่าคำว่าองค์กรแห่งนวัตกรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมีหน่วยงานทางด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เท่านั้น แต่การที่จะเป็น Innovative Organization ได้จะต้องเกิดขึ้นจากทั้งองค์กร เราลองมาดูกันนะครับว่าองค์กรที่มีลักษณะเป็น Innovative Organization ควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง แรกสุดก็คงหนีไม่พ้นทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็น Innovative Organization อีกทั้งความมุ่งมั่นและทุ่มเทของผู้บริหาร ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่เขียนไว้เฉยๆ ว่าต้องการเป็น Innovative Organization แต่ผู้บริหารกลับไม่ได้ทำตัวให้เหมาะสมกับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เมื่อทิศทางและความมุ่งมั่นของผู้บริหารชัดเจนแล้ว ก็คงจะต้องตามด้วยโครงสร้างองค์กรที่กระตุ้น และก่อให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงสร้าง ที่มีความยืดหยุ่น ในระดับที่เหมาะสมที่จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังด้วยนะครับไม่ให้โครงสร้างมีลักษณะที่หลวมเกินไป เมื่อโครงสร้างสนับสนุนแล้ว ก็ต้องมีบุคลากรที่สำคัญที่จะทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆ ภายใต้กระบวนการนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่จะเป็นเจ้าภาพในโครงการ (Champions) หรือผู้สนับสนุน (Promoters) อีกทั้งบุคลากรภายในองค์กร ยังจะต้องมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม มากกว่าปัจเจกบุคคลทั้งนี้เนื่องจากนวัตกรรมจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกันของบุคคลที่มีพื้นฐานที่หลากหลายมากกว่า ในขณะเดียวกันก็ต้องอย่าลืมความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรนะครับ เนื่องจากการที่บุคลากรจะเป็นผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้บุคลากรเองจะต้องมีความรู้และทักษะที่เหมาะสมนอกเหนือจากในเรื่องของทิศทาง โครงสร้าง การทำงานเป็นทีม และบุคคลแล้ว องค์กรที่จะมีลักษณะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมยังจะต้องให้ความสำคัญกับบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมในการทำงานด้วย โดยถ้าเป็นไปได้องค์กรควรที่จะสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่ให้ความสำคัญและคุณค่ากับนวัตกรรมเป็นสำคัญ และต้องอย่าลืมว่าการจะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมได้นั้นความเชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอกองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากหลายครั้งที่นวัตกรรมที่สำคัญภายในองค์กรไม่ได้เกิดขึ้นจากภายใน แต่เป็นการสามารถเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ จากภายนอกเข้ามารวมกันได้ ข้างต้นเป็นเพียงแค่บางส่วนของคุณลักษณะขององค์กรแห่งนวัตกรรมนะครับ ท่านผู้อ่านคงจะเห็นด้วยนะครับที่คำว่านวัตกรรมเป็นคำที่ดูดี เมื่อนำไปใส่ในวิสัยทัศน์หรือกลยุทธ์ขององค์กรใดก็แล้วแต่ ก็จะทำให้องค์กรนั้นดูดีไปด้วย แต่การที่จะพัฒนาองค์กรของตนเองให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดการที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมเกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น องค์กรจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง? ประการแรกคงจะต้องเริ่มจากกลยุทธ์ขององค์กร ที่จะต้องมุ่งเน้นในด้านนวัตกรรมเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นในด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมภายนอกที่จะส่งผลต่อองค์กร ประการที่สององค์กรจะต้องมีเครื่องมือ กิจกรรม และแผนงานต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือในการบริหารโครงการด้านนวัตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ความเป็นไป
ประโยชน์ของนวัตกรรม
ในการติดต่อรับ-ส่ง E-Mail นั้นจะรวดเร็ว,ประหยัด ค่าใช้จ่าย และส่งถึงแน่นอนกว่าโดยที่จดหมายนั้นจะไม่สูญหาย และยังคง สภาพเดิมทุกอย่าง นอกจากนี้ Electronic Mail ยังมีบริการให้เราค้นคว้า E-Mail Address ของผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตทั่วโลกอีกด้วย ซึ่งเมื่อเทียบแล้วก็เหมือนกับการค้นหารายนามโทรศัพท์
ขั้นตอนการกำเนิดของนวัตกรรม
ในธุรกิจมาจาก 2 แหล่งหลักด้วยกันคือ แหล่งแรก การคิดค้นภายในองค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของแนวคิดใหม่ในสินค้าและบริการ โดยองค์กรมักจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนา (Research & Development-R&D) ขึ้นภายในองค์กร และจัดหาผู้ที่มี ความสามารถในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่นำไปสู่ “มูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ” ขององค์กร จะเห็นได้ว่า การเกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่องนั้น โดยทั่วไปมักมาจากการกระตุ้นนวัตกรรม โดยการใช้วัฒนธรรมองค์กรเป็นกลไกผลักดันให้บุคลากรทั้งหมดขององค์กรตื่นตัวสร้างความแปลกใหม่และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆแหล่งที่สอง การแลกเปลี่ยน เรียนรู้และรับนวัตกรรมจากภายนอก หรือ นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) ไม่จำเป็นว่าแนวคิดที่ดีจะต้องมาจากบุคลากรภายในกิจการแต่เพียงอย่าเดียวโดยลักษณะคือ เปิดรับแนวคิดใหม่จากภายนอก จะทำให้แนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และหลากหลายกว่า รวมถึงอาจจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการพัฒนาเองทั้งหมด เนื่องจากบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาจจะกระจัดกระจายกันอยู่ในองค์กรต่างๆ เช่น การจัดจ้างภายนอก (Outsourcing) เลือกจ้างหน่วยงานภายนอก ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า หรืออาจจะร่วมมือในเชิงพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีความพร้อมและบุคลากรในการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพื่อร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมจากความถนัดของทั้งคู่ เป็นต้น ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดการนำนวัตกรรมจากภายนอกมาใช้มากขึ้น ทั้งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และรับเทคโนโลยี เทคนิคดังกล่าวจะช่วยให้กิจการสร้างความแปลกใหม่ในการผลิตและการดำเนินงาน โดยไม่ถูกจำกัดแนวคิดหรือความเชี่ยวชาญอยู่เฉพาะภายในองค์กรอีกต่อไป
ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้
นวัตกรรมเป็นการวิจัยหาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วน เทคโนโลยี คือ การนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชนืในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบนวัตกรรมเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ1. นวัตกรรมเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติ หรือการกระทำใหม่ๆจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับจนกลายเป็น
แนวปฏิบัติ
2. นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนไม่แพร่หลายแต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการนำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา
ตัวอย่างของนวัตกรรม
1. ชิปไมโครโปรเซสเซอร์
2. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและแล็ปท็อป
3. ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
4.เตาไมโครเวฟ
5.e ซอฟต์แวร์สเปรดชีต
6.โทรศัพท์มือถือ
7. ผ้าอ้อมเด็กทารกทิ้ง
8. โลกอินเตอร์เน็ต Web / ไวด์
9.กล้องดิจิตอล
10. เครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์
11.Email ส่งอีเมล
12.Google search การค้นหาของ Google
13.iPod and iTunes iPod และ iTunes
14.WiFi WiFi
15. เครือข่ายสังคม
•16. แหล่งพลังงานสีเขียวเช่นกังหันลมและแผงเซลล์แสงอาทิตย์
•17. ตำแหน่งบนโลกหรือดาวเทียมระบบนำทาง
นี้เป็นหลักสูตรที่ไม่ชัดเจนรายการและนวัตกรรมการพัฒนาใหม่จะยังคงเกิด
เทคโนโลยี
ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
ลักษณะของเทคโนโลยี
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ
ความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้าง นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เข้ามาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอนิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้พร้อมกัน สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำโลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ
ประโยชน์ของเทคโนโลยี
- ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แถมยังช่วยพัฒนาระบบอารายธรรมโดยทางอ้อมอีกด้วย
เรื่องราวจากการเริ่มต้นเทคโนโลยี ยาวนานจนบัดนี้ทำให้มนุษย์เราแทบไม่สามารถแยกจากเทคโนโลยีไปได้แล้ว
-ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น
-ช่วยให้เราทันสมัย
-ช่วยประหยัดเวลา
-ช่วยในการทำงาน
ขั้นตอนการกำเนิดเทคโนโลยี
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว กลุ่มเล็กที่สุดเรียกว่าครอบครัว ถัดขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ จนในที่สุดเป็นเมือง เป็นประเทศ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่ชุมชนตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ จนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล เมือง และประเทศ การติดต่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการส่งและรับ ข้อมูลข่าวสารถึงกัน แรก ๆ ก็เป็นการบอกกันปากต่อปากต่อมามีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่าง ๆ ซึ่งต่อมากลายเป็นการส่งจดหมายถึงกัน
ความต้องการการสื่อสารด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้นมีความรวมเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ซึ่งอาศัยหลักวิชาทาง วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด ข้อความหรือภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เรียกว่า คลื่นวิทยุ) กระจายไปในอากาศ เมื่อถึงปลายทาง สัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้นก็จะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นคำพูด ข้อความหรือภาพเหมือนกับที่ส่งออกไปจากต้นทาง ทำให้ที่อยู่คนละซีกโลกกันสามารถรับรู้ ข้อมูลข่าวของกันและกันได้ภายในชั่วพริบตา
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมานี้เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึงตัวเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร เราใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ (คำนวณ เปรียบเทียบ และตรวจสอบได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ) มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม (ติดต่อได้รวดเร็วและกว้างไกล) ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศนั่นเอง
ความแตกต่างของเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
มีอยู่ 2 ประเด็นสำคัญ คือ เวลา และสถานที่ หากสิ่งใดที่ถูกใช้ในสถานที่หนึ่งเป็นเวลานานและเกิดการยอมรับอย่างแพร่หลาย มักเรียกสิ่งนั้นว่าเทคโนโลยี เพราะใช้ประโยชน์ในที่นั้นเป็นระยะเวลาหนึ่งจนทุกคนในกลุ่มรู้สึกคุ้นเคย แต่ถ้านำสิ่งนั้นไปใช้ในพื้นที่ใหม่เป็นครั้งแรกเกิดการเรียนรู้ใหม่ มีการตื่นตัวภายในกลุ่ม และเริ่มยอมรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับก็จะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่านวัตกรรม
ตัวอย่างของเทคโนโลยี
1 ระบบเอทีเอ็ม
เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศทีได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังรูปที่ 1.13โดยในปีพ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงค์ ในเมืองนิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า
2. การลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจ แต่ตัองเป็นวิชาที่กำหนดในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดั้งนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวณผล
แบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ทันทีว่ามีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม
หรือวิชาใดแทนได้บ้าง
ขั้นตอนของการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาของมหมวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีดังนี้
1)นักศึกษานำรายวิชาที่สนใจจะเรียน ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอความชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา จึงนำไปลงทะเบียนเรียนได้
2)นักศึกษานำเอกสารการลงทะเบียนที่มีลายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา มาพบกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าลงทะเบียนป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่ เช่น มีผู้ลงทะเบียนวิชานั้นเต็มแล้ว ไม่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องให้นักศึกษาเปลี่ยนกลุ่มเรียน หรือหากต้องการลงทะเบียนวิชาใหม่ ก็ต้องกลับไปขอ
3)โปรแกรมพิมพ์รายการที่นักศึกษาลงทะเบียนทั้งหมดพร้อมทั้งคิดค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็ค่าลงทะเบียนเรียน
4)นักศึกษาจายเงินและรับเอกสารใบเสร็จที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
5)เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่บ่งบอกได้ว่า แต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง นักศึกษาลงทะเบียนรวมทั้งสิ้นกี่คน พร้อมทั้งพิมพ์รายงานการลงทะเบียนของนักศึกษาในแต่ละรายวิชา แจ้งให้อาจารย์ที่สอนวิชานั้น ๆ ทราบ
6)ในกรณีที่นักศึกษาต้องการเพิ่มหรือถอนการลงทะเบียนในภานหลัง ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่อนุญาต นักสึกษาสามารถดำเนินการโดยขออนุญาตการเพิ่มหรือถอนจากอาจาารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำวิชา และนำเอกสารมาให้เจ้าหน้าที่ป้อนรหัสที่เพิ่มหรือถอนโปรแกรมจะตรวจสอบกับฐานข้อมูล และพิมพ์รายการทางการเงิน พร้อมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ ข้อมูล
ในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา มีการเปี่ยนแปลงและทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียกใช้หรือตรวจสอบได้ทันที ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่าง ๆเช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายวานผลต่าง ๆ
3. การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและค่าใช้จ่ายที่ตํ่ากว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บเพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมายการประยุกต์ที่น่าสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือ ระบบพานิชน์อิทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (electronic commercr : e-commerce) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอิเทอร์เน็ตมีการตั้งร้านคาบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้เขาใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลู้ค้เข้าร่วมชมจากที่ต่าง ๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น ร้านค้าหนังสือหลายแห่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต นำเสนอรายการ และตัวอย่างหนังสือบนเครือข่าย มีหนังสือที่ร้านนำเสนอหลายแสนเล่ม มีระบบเครือข่ายค้นหาหนังสือที่ต้องการ และหากสนใจติดต่อสั่งซื้อก็กรอกลงในแบบฟรอร์มการส่งซื้อมีระบบการชำระได้หลายแบบ เช่น ระบบชำระเงินผ่านเครดิต ระบบการโอนผ่านธนาคาร ระบบการนำสินค้าส่งถึงที่แล้วจึงค่อยชำระเงินการจัดส่งสินค้าก็ทำได้อยางรวดเร์ว มีเครือข่ายการส่งสินค้าได้ทั่วโลกผ่านทางบริษัทจัดส่งสินค้าแบบเร่งด่วน ระบบการค้าขายบนอินเทอร์เน็ตจึงเติบโตและมีผู้นิยมอย่างมาก ทั้งนี้เพราะข้อดีคือ สามารถนำเสนอลูกค้าให้กับลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่มีมากและราคาถูกในท้องที่หนึ่ง เช่น คนไทนสามารถส่งปลาทูขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซไปยังผู้บริโภคแถบตะวันออกกลาง โดยระบบบรรจุหีบห่อแช่แข็งขนาดเล็ก ส่งผ่านทางบริษัทจัดส่งสินค้าเร่งด่วนไปยังผู้บริโภคได้ นอกจากนี้สินค้าประเภทหัตถกรรมไทยจำนวนมากก็เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ การนำเสนอสินค้าผ่านทางเครือข่าย จึงเป็นหนทางของการเปิดตลาดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนในปัจจุบันมีผู้ตั้งร้านค้าบนเครือข่ายมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรมขนาดย่อมนอกจากการทำการค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว บริษทห้างร้าน และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็หันมาดำเนินกิจการ หรือให้บริการทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกสบายขึ้น โรมแรมและการท่องเที่ยวเสนอบริการ และการจองเข้าพักโรงแรมหรือการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางอินเทอร์เน็ต กรมสรรพากรเสนอบริการให้ผู้เสียภาษียื่นแบบรายการการเสียภาษีผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนหลายแสนคนที่มีหนาที่ต้องยื่นแบบรายการเสียภาษีไม่ต้องเดินทางไปที่
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบรายการเสียภาษได้จากที่ทำงาน หรือที่บ้าน ทำให้ลดปัญหาด้านการเดินทางและการจราจรได้มากบริษัทและหน่วยงานทางธุรกิจจำนวนมากใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสั่งใบซื้อสินค้าในรูปแบบอิทรอนิกส์ การตรวจสอบรายการสินค้าตามห้างร้านค้าปลีกแบบออนไลน์ การโต้ตอบธุรกรรมต่าง ๆ ทำให้ลดการใช้กระดาษและทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการรัฐมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยราชการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเช่นกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำงานบนเครือข่ายทำให้เกิดการดำเนินกิจการที่เรียกว่า "อีกอป เวอร์นเมนต์" (eGovernment ) เช่น เมื่อประชาชนติดต่ากระทรวงต่างประเทศเพื่อขอหนังสือเดินทาง กระทรวงต่างประเทศต้องการตรวจสอบบุคคล ก็สามารถเชื่อมโยงเรียกใช้ข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทยไเโดยตรงและทันทีทำให้การตรวจสอบบุคคลได้แม่นยำและถูกต้อง โดยประชาชนผู้ขอใช้บริการไม่ต้องถ่ายสำเนา และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐทำให้การบริการประชาชนมีความรวดเร็ว และเป็นที่ปรารถนาของประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานราชการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ กับบริษัท ห้างร้าน เช่น การประมูลซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยหน่วยงานรัฐจะเสนอรายการซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต และให้บริาทผู้ขายเสนอราคาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้การประมูลจัดซื้อของทางราชการมีความรวดเร็ว สะดวก และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจมาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ
ความสำคัญของสารสนเทศ
มีคำกล่าวถึงความสำคัญของสารสนเทศว่า “สารสนเทศคืออำนาจ” (information is power) หมายถึง ผู้ที่มีสารสนเทศหรือได้รับสารสนเทศที่มีคุณค่าและทันสมัย มีความต่อเนื่องทันเหตุการณ์ และสามารถใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้นั้นย่อมมีพลังหรือมีอำนาจ ได้เปรียบผู้อื่นในทุก ๆ ด้าน
ในสังคมข่าวสาร หรือสังคมสารสนเทศ (information society) จำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ความสำคัญของสารสนเทศจึงไม่จำกัดเฉพาะนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับผู้คนในสังคมทุกอาชีพ สารสนเทศนอกจากมีความสำคัญต่อตัวบุคคลแล้ว ยังมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสำคัญด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา
สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ถูกต้องจากหลายแขนงวิชามาพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
2. ความสำคัญด้านสังคม สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เราใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ทั้งการประกอบอาชีพ การป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิต สารสนเทศช่วยขยายโลกทัศน์ของผู้ได้รับให้กว้างขวาง สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
3. ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความรู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน ทั้งนี้เพราะสารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้ตามความต้องการของตลาด
นโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ จึงมุ่งปรับฐานเศรษฐกิจไปสู่การเป็นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานความรู้ มีการสร้างความพร้อมและความรอบรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนานวัตกรรมของตนเองอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.), 2546)
4. ความสำคัญด้านวัฒนธรรม สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคี ความมั่นคงในชาติ
ประโยชน์สารสนเทศ
ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น
1. ด้านการวางแผน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น
2. ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ
ขั้นตอนการกำเนิดสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมานี้เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึงตัวเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร เราใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ (คำนวณ เปรียบเทียบ และตรวจสอบได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ) มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม (ติดต่อได้รวดเร็วและกว้างไกล) ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศนั่นเอง
ความแตกต่างของเทคโนโลยีสารสนเทศกับนวัตกรรม
มีอยู่ 2 ประเด็นสำคัญ คือ เวลา และสถานที่ หากสิ่งใดที่ถูกใช้ในสถานที่หนึ่งเป็นเวลานานและเกิดการยอมรับอย่างแพร่หลาย มักเรียกสิ่งนั้นว่าเทคโนโลยี เพราะใช้ประโยชน์ในที่นั้นเป็นระยะเวลาหนึ่งจนทุกคนในกลุ่มรู้สึกคุ้นเคย แต่ถ้านำสิ่งนั้นไปใช้ในพื้นที่ใหม่เป็นครั้งแรกเกิดการเรียนรู้ใหม่ มีการตื่นตัวภายในกลุ่ม และเริ่มยอมรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับก็จะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่านวัตกรรม
ตัวอย่างสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบัน เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล การแก้ไขเปลี่ยนแปลง การเรียนกดูข้อมูล การประมวลผล การใช้งานร่วมกันแบบหลายๆ คน และการวิเคราะห์ข้อมูล ทำได้ง่ายและเพิ่มคุณค่า ประโยชน์ ในการใช้งานข้อมูล ขณะเดียวกันเทคโนโลยียังสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการ
ดังนั้นองค์กรที่มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่ช่วยให้และเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรในทุกองค์กรในการปฏิบัติงานขององค์การได้อย่างามประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต
โดยแบ่งออกเป็น 4 งาน ดังนี้
1. งานบริหารบุคคล
1.การสรรหาและเลือกสรรบุคลากรทางการศึกษา
1.1 การประกาศรับสมัคร โดยใช้สารสนเทศมามีบทบาท กรมแรงงาน น.ส.พ.ท้องถิ่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต
1.2 การรับสมัคร ให้กรอกใบสมัคร มี ประวัติ การศึกษา ประสบการณ์ โดยส่งทางอีเมล์
1.3 การสัมภาษณ์เบื้องต้น รับสมัครแล้วสัมภาษณ์เบื้องต้นก่อน ถ้าไม่ตรงจะได้ตัดออกไม่ให้สมัคร
1.4 การสอบ เป็นการสอบความรู้ความสามารถ เป็นสอบข้อเขียนอาจเป็นข้อสอบปรนัยหรืออัตนัย และสอบปฏิบัติ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ สอนในชั้นเรียน
1.5 การสอบสัมภาษณ์ สอบหลังจากผ่านการสอบในข้อ 2.4 แล้ว
12.6 การตรวจสอบภูมิหลัง อาจตรวจสอบจากสถานการศึกษา ที่ทำงานเดิมของผู้สมัคร
1.7 การคัดเลือกขั้นสุดท้าย เป็นการประเมินจากขั้นตอนที่แล้ว
1.8 การบรรจุแต่งตั้งเข้าทำงาน อาจให้เลือกหน่วยงานตามลำดับของผลการสอบ
2. งานบริหารทั่วไป
1. งานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน โดยจัดทำในรูปแบบของ
- การทำเว็บไซต์ของโรงเรียน
- จัดทำในรูปของ powerpoint
- สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. งานธุรการของโรงเรียน
- รับ- ส่ง เอกสารทาง e-filing
3. งานบริหารงบประมาณ
การใช้สารสนเทศในการจัดทำงานบริหารงบประมาณเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและสะดวกรวดเร็วทางโรงเรียนจึงได้ทำให้อยู่ในแต่ละหมวด ดังนี้
1.หมวดเงินเดือน เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการเป็นรายเดือน
2.หมวดค่าจ้างประจำ เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำ
3.หมวดค่าจ้างชั่วคราว เงินที่จ่ายเป็นค่าแรงสำหรับการทำงานปกติของแก่ลูกจ้างชั่วคราว
4.หมวดค่าตอบแทน เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้ทางราชการ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร
5.หมวดค่าใช้สอย ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่ายานพาหนะ ค่าที่พัก ค่าซ่อมแซมอาคารสถานที่และครุภัณฑ์
6.หมวดค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา
7.หมวดค่าวัสดุ ค่าใช้จ่ายซื้อสิ่งของต่างๆ เช่น กระดาษ หลอด
8.หมวดค่าครุภัณฑ์ รายจ่ายเพื่อซื้อสิ่งของที่คงทน ใช้ได้นาน เช่น คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้
4. งานบริหารวิชากา
1.ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องทําการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด สารสนเทศส่วนนี้เกิดจากครูผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจําแนกเป็นรายชั้นรายปี ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน รายงานผลความก้าวหน้าของผู้เรียน รายงานความประพฤติ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน โรงเรียนต้องมีการจัดทําขึ้นให้เป็นไปตามมาตรฐานการประเมินตนเอง เพื่อรองรับการประเมินจากต้นสังกัด และโรงเรียนก็สามารถให้ข้อมูลหรือ ระบบสารสนเทศแสดงผลสัมฤทธิ์ให้เห็นทุกตัวในฐานข้อมูลว่าขณะนี้เป็นอย่างไรบ้าง โดยการเก็บข้อมูลจะส่งผลกับการประเมินคุณภาพผู้เรียน ผลที่ได้จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกความก้าวหน้าของผู้เรียน
2.ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น หลักสูตรและการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การประกันคุณภาพ การวัดและการประเมินผลการเรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/กิจกรรมแนะแนว สื่อนวัตกรรม การนิเทศ การวิจัยในชั้นเรียน การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เป็นต้น ในงานบริหารฝ่ายวิชาการซึ่ง ประกอบด้วยฝ่ายวัดผล ฝ่ายประเมินผล หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระ ต้องมีการเก็บข้อมูลในด้านต่างๆและจากการเก็บข้อมูลก็จะสามารถพบว่ามีนักเรียนที่มีปัญหาในด้านต่างๆอย่างไร และโรงเรียนก็ต้องมีวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เช่น โรงเรียนอาจจะช่วยนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหานี้ได้ด้วยสอนเสริมเพิ่มเติมในวิชาที่นักเรียนมีปัญหา และจากผลความก้าวหน้าตรงนี้จะเป็นชี้วัดว่าโรงเรียนต้องพัฒนาตัวเองให้ไปในทิศทางใดได้อย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น